เอื้องสายล่องแล่ง ( Dendrobium aphyllum )

 

 

เอื้องสายล่องแล่ง ( Dendrobium aphyllum)
     เอื้องสายล่องแล่ง กล้วยไม้สกุลหวายที่พูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นเอื้องสายที่เลี้ยงง่ายที่สุดก็ว่าได้ครับ !
     เอื้องสายล่องแล่ง จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวาย ( Dendrobium ) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบเห็นได้ทุกภาคพื้นที่ในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เอื้องสายล่องแล่ง จึงได้รับอีกชื่อหนึ่งว่า เอื้องสายเชียงใหม่ และยังมีอีกหลาย ๆ ชื่อ อาทิเช่น เอื้องสายนกกระจิบ เอื้องสายไหม เป็นต้น
     ด้วยลักษณะนิสัยที่ชอบแตกกอง่าย และให้ลำลูกกล้วยที่เรียวยาวเป็นแนวดิ่งลงสู่พื้นดินนั้น เมื่อถึงเวลาให้ดอก เอื้องสายล่องแล่ง มักจะให้ดอกพลูตั้งแต่โคนต้นไปจนถึงปลายสุด ทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ยามให้ดอกนั้น มองดูราวกับผืนม่านขนาดใหญ่ปกคลุมบนยอดไม้สูง สง่า งดงาม อย่างที่หาเปรียบไม่ได้
     นอกจากนี้ เอื้องสายล่องแล่ง ยังเป็นกล้วยไม้ที่ชอบร้อนมากอีกเสียด้วย ด้วยนิสัยที่ชอบอากาศร้อนจัดนี่เองทำให้

เอื้องสายล่องแล่ง สามารถผลิดอกบานได้ในทุกภาคพื้นที่ในประเทศไทยเรานั่นเองครับ
     เอื้องสายล่องแล่ง มักจะให้ดอกในฤดูร้อนในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม ดอกของ เอื้องสายล่องแล่ง มีลักษณะเกือบจะคล้ายคลึงกับ เอื้องสายน้ำผึ้ง แต่ต่างกันออกไปตรงที่ เอื้องสายล่องแล่ง ปากของเขานั้นจะเล็กกว่า และไม่บานกว้างออก กลีบสีม่วงของ เอื้องสายล่องแล่ง จะมีขนาดใหญ่กว่า ในขณะที่กลีบของเอื้องสายน้ำผึ้งจะมีขนาดเล็กเรียวและทรงรี สีสันของกลีบ เอื้องสายล่องแล่ง นั้นมีสีม่วง บางครั้งก็เป็นสีม่วงอ่อน ๆ ปากของ เอื้องสายล่องแล่ง มีลักษณะสีครีม ผิวกลีบมองดูอ่อนนุ่มละมุน
     ก่อนที่ เอื้องสายล่องแล่ง จะให้ดอกนั้น เอื้องสายล่องแล่ง จะทิ้งใบจนหมดลำต้นหรือลำลูกกล้วย และจะพักตัวยาวนานหลายเดือน แต่ บางครั้งเราก็พบว่า เอื้องสายล่องแล่ง ไม่ทิ้งใบ และให้ดอกได้ ทันทีทั้ง ๆ ที่มีใบอยู่เต็มลำ หรือ มีใบหลงเหลืออยู่บนลำลูกกล้วย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ให้ดอกโดยไม่ทิ้งใบนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะได้รับน้ำมากเกินไปจนทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ไม่มีความจำเป็นต้องทิ้งใบเพื่อลดการ คายน้ำก่อนจะให้ดอกก็เป็นได้


♠ภาพ สายล่องแล่งเวียดนาม กลีบจะเป็นสีเขียวต่างจากของไทยที่กลีบออกชมพู
การปลูกเลี้ยง เอื้องสายล่องแล่ง
เอื้องสายล่องแล่ง เป็นกล้วยไม้ที่ชอบร้อน เลี้ยงง่ายมาก ๆ ครับ เมื่อได้รับ เอื้องสายล่องแล่ง เข้ามาเลี้ยงดูแล้ว ก่อนอื่นให้ตัดรากแห้ง และลำแห้งทิ้งออกเสียให้หมดก่อนแล้ว
- นำ เอื้องสายล่องแล่ง มามัดติดกับขอนไม้ที่เหมาะสม โดยจัดลำให้ห้อยตัวลง หลีกเลี้ยงการมัดติดโดยให้หัวดิ่งลงพื้นตรง ๆ จะดีกว่าครับ เพราะการจับหัวดิ่งลงเลย กล้วยไม้ทรงจะไม่สวยแล้วยังโตช้าด้วยครับ หากเปรียบเป็นเข็มนาฬิกา ผมแนะนำให้ติดตรง 9 นาฬิกา หรือ 3 นาฬิกา ของขอนไม้นะครับ ไม่แนะนำ 6 นาฬิกาครับ เพราะ 6 นาฬิกาจะเป็นการทรมานกล้วยไม้เกินไป อารมณ์เหมือนเราถูกจับห้อยหัวโดยมัดเท้าไว้ครับ
- หาเป็นกระเช้าสี่เหลี่ยม ให้นำวัสดุปลูกเช่น กาบมะพร้าว มารองระหว่าง เอื้องสายล่องแล่ง กับกระเช้าก่อนครับ เพื่อให้ได้รับความชื้นที่พอเพียง เสร็จแล้วมัดให้แน่น แล้วแขวนกระเช้าโดยใช้ลวดเพียงสองขาก็เพียงพอครับ เพื่อให้ลำของ เอื้องสายล่องแล่ง ได้ดิ่งตัวลงมานั่นเองครับ
- รดน้ำวันละ 1 ครั้ง เช้าหรือเย็นก็ได้ครับ ระยะแรกให้แขวน เอื้องสายล่องแล่ง ไว้ในร่มรำไร พ้นแสงแดดจัด เมื่อกล้วยไม้รากเดินดีแล้วจึงค่อย ๆ ขยับเข้าหาแสงแดดที่มากขึ้นเพื่อให้กล้วยไม้ได้ปรุงอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อใช้ ในการผลิดอกในครั้งต่อ ๆ ไป

ขอบคุณข้อมูลจาก

 http://www.orchidtropical.com/dendrobium_aphyllum.php

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  18,793
Today:  2
PageView/Month:  82

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com